เข้าใจการนิเวศการแก้ไขปัญหาสังคมด้วย Problem Discovery

มีคนแก้ไขปัญหาอยู่มากมาย แต่ปัญหาสังคมก็ซับซ้อนเกินกว่าจะแก้หมด ถ้าอยากจะเริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงบ้าง มาเริ่มจากการทำเข้าใจการนิเวศการแก้ไขปัญหาสังคมด้วย Problem Discovery กันก่อนเลย!

Problem Discovery คืออะไร?

Problem Discovery เป็นกระบวนการทำความเข้าใจการแก้ไขปัญหาสังคม เพื่อหาช่องว่างและโอกาสในการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับนวัตกรสังคมและผู้ที่สนใจสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ต้องการข้อมูลเชิงลึก (Insight) ไปทำงานต่อ โดยการสกัดจากการเห็นภาพรวมของปัญหา จุดร่วมของวิธีแก้ปัญหาที่มีในปัจจุบัน รวมถึงประเด็นปัญหาที่ยังไม่ถูกแก้

Problem Discovery ได้ข้อมูลสำคัญจากการดึงบทเรียนข้อสังเกตจากคนทำงานจริง (Player) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ (Stakeholder) และคลังความรู้ (Knowledge) มาสังเคราะห์ให้เกิดการเข้าใจปัญหาในมุมมองใหม่ การทำ Problem Discovery จะช่วยลดระยะเวลาในการหาข้อมูลเชิงลึก ช่วยให้นวัตกรเห็นประเด็นปัญหาที่ขาดการมีส่วนร่วมหรือขาดผู้เล่น และช่วยเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ให้ปัญหาถูกแก้อย่างรอบด้าน การเปลี่ยนแปลงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่าย เร็ว และยั่งยืนมากขึ้น

Problem Discovery เป็นแนวทางการจัดการปัญหาสังคม (Framework) ที่ได้รับการศึกษาและประยุกต์มาจาก เครื่องมือ Discovery Framework ของมูลนิธิ อโชก้า

ทำไมเราจึงควรทำ Problem Discovery?

Problem Discovery นำเสนอมุมมองและการจัดการปัญหาแบบองค์รวม (Holistic approach) ซึ่งเป็นวิธีการมองเชิงภาพรวมของปัญหา และเป้าหมาย โดยตระหนักถึงองค์ประกอบย่อยที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งในแง่องค์ประกอบที่ทำให้เป้าหมายสำเร็จ ตลอดจนช่องว่างในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เป็นการมองรอบด้านให้ได้ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ให้ครบถ้วนมากที่สุด เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือทำให้เป้าหมายสำเร็จ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ปัญหา

  • เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาขึ้นเป็นตารางสำรวจปัญหา ‘Problem Discovery Map’ ผู้ใช้จะเห็นรูปแบบ (Patterns) การแก้ปัญหาของแต่ละผู้เล่น ซึ่งทำให้เห็นช่องว่างของปัญหาที่ยังไม่ถูกแก้ไขหรือยังไม่เป็นที่รู้จัก จุดร่วมของวิธีแก้ปัญหาที่มีในปัจจุบัน และกลยุทธ์การแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จหรือที่ยังต้องทำงานเพิ่ม
  • Problem Discovery Map เอื้อให้ผู้ใช้ตั้งคำถาม และสกัดข้อมูลเชิงลึก (Insight) ของตนเอง เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาในระดับโครงสร้าง (Systems) เลี่ยงการแก้ปัญหาแบบซ้ำเดิม และเลี่ยงการแก้ปัญหาในระดับสถานการณ์หรือพฤติกรรมซึ่งไม่เพียงพอต่อระดับความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น
  • Problem Discovery Map เอื้อให้ผู้ใช้พัฒนาทฤษฎีการสร้างการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) ในระดับโครงสร้าง และเห็นความสัมพันธ์ของการสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบองค์รวม
  • หน่วยงาน/องค์กรที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม ผู้ให้ทุน กองทุนฯ แล็บนวัตกรรมสังคม หรือสำนักวิจัยเพื่อสังคม สามารถใช้ Problem Discovery Map เป็นแนวทางในการประเมินโครงการและสื่อสารแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเร่งการแก้ปัญหาอย่างรอบด้านและยั่งยืนมากขึ้น

ขั้นตอนการทำ Problem Discovery

𝟙 ตั้งขอบข่ายคำถาม

เนื่องจากปัญหาสังคมเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน มีผู้เกี่ยวข้องมากมาย การแก้ไขปัญหาสังคมจึงอาจต้องการอาศัยความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วนจึงจะเกิดผลสำเร็จ และหากเป็นปัญหาที่อยู่ภายใต้ภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Model) อย่างปัญหา ที่อยู่ในระดับโครงสร้าง (Systems) และระดับความคิด (Mental Model) ที่อยู่ลึกที่สุด ก็ยิ่งใช้เวลานานในการแก้

การระบุขอบเขตและทบทวนนิยามก่อนเริ่มต้นจะทำให้เราประหยัดเวลาในการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ต้องทำงานร่วมกับคนหลากหลายกลุ่มในการสร้างการเปลี่ยนแปลง การนิยามจะช่วยให้เกิดการพูดคุยให้เข้าใจตรงกัน หรือยืนยันว่าปัญหาที่สนใจยังเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ ก่อนจะลงมือทำความเข้าใจสถานการณ์หรือลงมือแก้ไข

Problem Discovery เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามที่เรียบง่าย 2 คำถาม คือ

1. มีอุปสรรค (Barrier) อะไรบ้างที่ทำให้ปัญหายังไม่ถูกแก้ไข?

2. ใครกำลังแก้ปัญหานี้อยู่บ้าง? เพื่อนำคำตอบไปเป็นตัวกำหนดขอบเขตของปัญหา

𝟚 ระบุอุปสรรคเชิงโครงสร้าง

เนื่องด้วย Problem Discovery ต้องการจะเสนอการจัดการปัญหาแบบองค์รวม (Holistic approach) จากการมองเห็นรูปแบบ (Patterns) การแก้ปัญหาของแต่ละผู้เล่นในระบบ และเอื้อให้ผู้ใช้สกัดข้อมูลเชิงลึก (Insight) ของตนเองไปแก้ไขประเด็นปัญหาระดับโครงสร้าง (Systems) เลี่ยงการแก้ปัญหาที่ซ้ำ และเลี่ยงการแก้ปัญหาในระดับสถานการณ์หรือพฤติกรรมซึ่งไม่เพียงพอในการเปลี่ยนแปลง

อุปสรรค หรือ Barrier ที่ได้จากการศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูลตามกระบวนการ Problem Discovery นั้น เป็นองค์ประกอบสำคัญของการแก้ปัญหา ซึ่งหากได้รับการจัดการจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างได้จริง ถึงแม้ ‘อุปสรรค’ เหล่านี้จะดูเป็นสาเหตุของปัญหาที่อธิบายสถานการณ์ปัญหาในภาพกว้าง แต่หากสังเกตดี ๆ จะเห็นว่า อุปสรรค จะมีคุณลักษณะ 3 อย่าง คือ มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง ลงมือเปลี่ยนแปลงได้จริง และมีความเฉพาะเจาะจงกับปัญหา ซึ่งได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการพูดคุยกับผู้ที่ทำงานแก้ไขปัญหาด้านความเสมอภาคทางการศึกษา โดยนำข้อมูลมาหาความเชื่อมโยงและแสดงจุดร่วมของประเด็นย่อยของปัญหา ไม่ว่าจะเป็นช่องว่างของปัญหาที่ยังไม่ถูกแก้หรือยังไม่เป็นที่รู้จัก หรือ อุปสรรคร่วมที่นวัตกรได้พบ ไม่ว่าจะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีอะไรก็มักจะไปติดที่จุดเดียวกันนี้

𝟛 ศึกษาการแก้ไขปัญหา

เราสามารถศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาผ่านผู้ที่กำลังทำงานสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเด็นนี้ โดยตั้งต้นจาก “เป้าหมายหรือภาพความสำเร็จที่ต้องการให้เกิดขึ้น” ที่ตั้งไว้ แล้วศึกษาจากสถานการณ์ปัญหาปัจุบัน ว่ามีใครหรือองค์กรใดกำลังแก้ไขปัญหาและได้สร้างผลลัพธ์ที่ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นไว้อยู่บ้าง หากวิเคราะห์จากบทเรียนและความสำเร็จของวิธีการแก้ปัญหาของบุคคลหรือองค์กรดังกล่าวแล้ว จะเห็นจุดร่วมของพวกเขาและดูว่าวิธีแก้ไขใดบ้างที่เหมาะสมกับการนำไปต่อยอด

𝟜 ระบุกลยุทธ์การสร้างนวัตกรรม

กลยุทธ์การสร้างนวัตกรรมด้านความเสมอภาคทางการศึกษา ‘Design Strategies’ คือ ข้อมูลเชิงลึก บทเรียนสำคัญ และจุดร่วมของวิธีแก้ปัญหา ที่สังเคราะห์จากการเรียนรู้ของนวัตกรสังคมผ่านการลองผิดลองถูกในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับเคลื่อนงานด้านความเสมอภาคทางการศึกษาระดับประเทศ อย่างกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ระดับประเด็นเฉพาะ อย่าง Vulcan Coalition ระดับพื้นที่ อย่าง BuddyHomeCare และ บ้านไร่อุทัยยิ้ม หรือระดับนานาชาติ อย่าง PLAN International เป็นต้น

รายการกลยุทธ์ที่ได้กลั่นออกมานั้น ไม่ใช่การรวบรวมเครื่องมือ จำพวกเทคโนโลยีหรือการฝึกอบรมเพิ่มความรู้ และไม่ใช่การระบุการทำงานเชิงระบบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นการรวมไอเดียและข้อมูลเชิงลึกที่ได้ทดลองมาแล้วว่าเป็นจุดคาดงัดและสามารถสร้างแรงกระเพื่อมให้กับความเสมอภาคทางการศึกษาได้ ซึ่งหากนวัตกรศึกษากลยุทธ์เหล่านี้ในแผนภาพ Problem Discovery ก็จะพบว่าวิธีการแก้ปัญหาใดยังเป็นช่องว่าง ยังการมีส่วนร่วมอยู่ และในขณะเดียวกัน วิธีการใดเป็นวิธีการที่ผู้เล่นใช้ร่วมกันและเป็นเทรนด์นวัตกรรมอยู่

𝟝 หาจุดร่วม

นำข้อมูลที่ศึกษา สอบถามมาวิเคราะห์เป็นอุปสรรคกับกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาด้านนั้นๆ ในขั้นตอนนี้เราอาจจะได้ปัญหาออกมา

อุปสรรคสำคัญ Common Barriers

จากการสังเคราะห์ข้อมูลจาก 3 สำนัก ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้แก่ สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) สำนักพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษา และสำนักพัฒนาการเรียนรู้เชิงพื้นที่ อุปสรรคสำคัญในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาที่น่าสนใจและน่าให้ความสำคัญ ได้แก่

  1. ความเหลื่อมล้ำมักถูกมองเป็นเรื่องน่าสงสาร หรือเป็นปัญหาของบุคคล มากกว่าเป็นปัญหาที่ระบบที่ต้องได้รับการแก้
  2. ระบบให้ความสำคัญกับครูน้อยเกินไป
  3. การศึกษาแบบเหมารวม one size fits all จึงบีบให้เด็กที่มีความหลากหลายออกจากระบบ
  4. คนใกล้ตัวเด็กยากจน มักไม่ได้เรียน จึงยากที่จะเห็นความเป็นไปได้จากการศึกษา
  5. ขาดข้อมูลในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา

กลยุทธ์การออกแบบการแก้ปัญหา Design Stratregy

จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่จาก 3 สำนักจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และสัมภาษณ์นวัตกรด้านความเสมอภาคทางการศึกษาในนิเวศ Social Enterprise NGO ศึกษาข้อมูลงานวิจัย บทสัมภาษณ์และบทความบนอินเทอร์เน็ต กลยุทธ์การสร้างนวัตกรรมด้านความเสมอภาคทางการศึกษา ได้แก่

  1. แสดงภาพรวมของปัญหาในระบบ และเน้นการอธิบายความเชื่อมโยงของบุคคลกับปัญหาเชิงระบบในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  2. สร้างโอกาสที่เอื้อให้คนหลายภาคส่วนมาสร้างนวัตกรรมแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  3. ใช้เทคโนโลยีในการสร้างความเสมอภาค
  4. ค้นหาทรัพยากรที่ยังไม่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อใช้อย่างเต็มที่
  5. จัดการการศึกษาโดยใช้ความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) นำ

𝟞 สร้างแผนภาพ

แผนภาพนี้แสดงไอเดียหรือความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่นวัตกรสามารถหยิบไปใช้เป็นแนวทาง หรือค้นหาข้อมูลเชิงลึกในการสร้างนวัตกรรมใหม่ได้

ความเหลื่อมล้ำมักถูกมองเป็นเรื่องน่าสงสาร หรือเป็นปัญหาของบุคคล มากกว่าเป็นปัญหาที่ระบบที่ต้องได้รับการแก้ระบบให้ความสำคัญกับครูน้อยเกินไป ตั้งแต่การฝึกทักษะ ค่าตอบแทน เวลาพักผ่อน เครื่องมือช่วยสอนการศึกษาที่ให้บริการแบบเหมารวม “one size fits all” จึงบีบให้เด็กที่มีความหลากหลายออกจากระบบคนใกล้ตัวเด็กยากจน มักไม่ได้เรียน จึงยากที่จะเห็นความเป็นไปได้จากการศึกษาขาดข้อมูลในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
แสดงภาพรวมของปัญหาในระบบ และเน้นการอธิบายความเชื่อมโยงของบุคคลกับปัญหาเชิงระบบในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกำหนดวาทกรรมเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้เน้นที่การพัฒนาระบบออกแบบระบบสนับสนุนและหน้าที่ของคุณครูหรือผู้ดูแลเด็ก ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในระบบ ทั้งชั่วโมงการทำงาน และภาระงานทบทวนเป้าหมายของหน่วยการศึกษา และกำหนดผลลัพธ์จากการศึกษา-การเรียนรู้ใหม่ให้ตอบโจทย์ความหลากหลาย โดยมีผู้เรียนและชุมชนเป็นฐานเพิ่มความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับการศึกษาให้กับคนใกล้ตัวเด็กยากจน ให้สามารถเชื่อมโยงความสำเร็จและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ จากการศึกษาพัฒนา Open Data ให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสถานการณ์ ข้อมูลเชิงลึก เห็น trend และมีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูล
สร้างโอกาสที่เอื้อให้คนหลายภาคส่วนมาสร้างนวัตกรรมแก้ไขปัญหาร่วมกันเปิดพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนและพัฒนาระบบการศึกษา ให้คนทั่วไปได้เห็นตัวเองในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผลักดันให้เกิดการแก้ไขตามทักษะความสามารถและกำลังสร้างเครือข่ายและชุมชนเพื่อนครู เป็นกลุ่มคนที่สนใจการดูแลกายและใจของคุณครู พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ เทคนิคการสอน ทั้งจากวงในและนอกวงการศึกษาถอดบทเรียนจากระบบการศึกษาที่ดูแลเด็กที่มีความหลากหลายออกมาเป็นองค์ความรู้และนำไปต่อยอดออกแบบระบบการทำงานหรือสร้างเครือข่ายที่เอื้อให้คนในพื้นที่ได้มีประสบการณ์ใหม่ ร่วมกับคนนอกพื้นที่ หรือเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การศึกษาซึ่งกันและกันสื่อสารกับสาธารณะเรื่องข้อมูลเชิงลึกของปัญหา ที่ผ่านการจัดการและวิเคราะห์แล้วว่าเป็นช่องว่าง ความต้องการที่ยังไม่ถูกเติมเต็ม (unmet need) และเป็นจุดคานงัด
ใช้เทคโนโลยีในการสร้างความเสมอภาคใช้ลักษณะเด่นของเทคโนโลยี หรือลักษณะที่สอดคล้องกับแนวคิดความเสมอภาค มาประยุกต์ใช้ ทำให้กลุ่มคนจำนวนมากเกิดความเข้าใจปัญหาในมุมใหม่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวกลางที่ช่วยแบ่งเบาภาระงานของคุณครู และเป็นตัวช่วยในการสอน เสริมให้คุณครูสร้างการเรียนรู้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ให้ตอบเงื่อนไขชีวิตของผู้เรียนเพื่อกันการออกจากระบบประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ใกล้ตัว/ใช้งานง่าย เข้ามาปลดล็อคข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในชีวิตที่ขวางให้คนใกล้ตัวเด็ก ไม่เลือกการศึกษาเทคโนโยลีจัดการข้อมูลและนำเสนอปัญหาในรูปแบบใหม่ ๆ ให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและนำข้อมูลไปใช้พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
ค้นหาทรัพยากรที่ยังไม่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อใช้อย่างเต็มที่จัดการอุปสรรคเชิงระบบให้หายไป หรือปรับเปลี่ยนให้เป็นโอกาส ที่ดึงดูดผู้เล่นใหม่ ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความเสมอภาคEmpower ครูให้มีอำนาจในระบบมากขึ้น (Power Sharing) ใช้ระบบเป็นโอกาสในการแก้ปัญหาใช้ทรัพยากรที่อยู่ในวงการอื่น นอกเหนือระบบการศึกษา มาบูรณาการสร้างนวัตกรรมความเสมอภาคทางการศึกษาใหม่ๆสร้างความร่วมมือกับคนในพื้นที่ เพื่อค้นหาและใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชน เกิดเครือข่ายที่สนับสนุนทั้งการศึกษาและอาชีพให้กับเด็กทำงานกับหน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหาโดยตรง
จัดการการศึกษาโดยใช้ความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) นำใช้โจทย์จากความต้องการ (Need) และปัญหา (Pain Point) ของกลุ่มคนที่อยู่ในระบบการศึกษา เป็นหลักในการออกแบบระบบ แทนการคิดจากตัวบุคคลปรับ mindset ผู้ให้บริการด้านการศึกษาให้ใช้ empathy ในการบริการจัดการระบบ เพื่อลด hierachy และการใช้อำนาจ (power over)ออกแบบเส้นทางการเรียนการสอน ที่ยอมรับและเข้าใจความหลากหลายของเด็กใช้ความเข้าอกเข้าใจเป็นแกนหลักในการทำงานกับคนใกล้ตัวเด็ก เสริมให้เขาได้จัดการชีวิตตัวเอง มีแรงใจ ส่งเสริมการศึกษาให้กับเด็กใช้ความเข้าอกเข้าใจเป็นแกนหลักในการจัดการศึกษา การทำวิจัย การสื่อสารปัญหาและการสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ

𝟟 จับคู่ผู้เล่นกับอุปสรรค

ความเหลื่อมล้ำมักถูกมองเป็นเรื่องน่าสงสาร หรือเป็นปัญหาของบุคคล มากกว่าเป็นปัญหาที่ระบบที่ต้องได้รับการแก้ระบบให้ความสำคัญกับครูน้อยเกินไป ตั้งแต่การฝึกทักษะ ค่าตอบแทน เวลาพักผ่อน เครื่องมือช่วยสอนการศึกษาที่ให้บริการแบบเหมารวม “one size fits all” จึงบีบให้เด็กที่มีความหลากหลายออกจากระบบคนใกล้ตัวเด็กยากจน มักไม่ได้เรียน จึงยากที่จะเห็นความเป็นไปได้จากการศึกษาขาดข้อมูลในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
แสดงภาพรวมของปัญหาในระบบ และเน้นการอธิบายความเชื่อมโยงของบุคคลกับปัญหาเชิงระบบในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกสศ.FamSchoolSchool of ChangemakersTDRI
สร้างโอกาสที่เอื้อให้คนหลายภาคส่วนมาสร้างนวัตกรรมแก้ไขปัญหาร่วมกันก่อการครูกสศ.กลุ่มลูกเหรียงEquity Lab
ใช้เทคโนโลยีในการสร้างความเสมอภาคVulcanInskruPLAN
ค้นหาทรัพยากรที่ยังไม่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อใช้อย่างเต็มที่BuddyHomeCareบ้านไร่อุทัยยิ้ม
จัดการการศึกษาโดยใช้ความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) นำLife Educationสิริเมืองพร้าวMappaChange Lab

𝟠 ระบุโอกาสและช่องว่าง

ถึงขั้นตอนสุดท้าย คือ การวิเคราะห์ข้อมูลบนตาราง ไม่ว่าจะเป็นช่องว่าง หรือการกระจุกตัวของการแก้ปัญหา เพื่อหาจุดตั้งต้นในการแก้ไขปัญหาภายใต้ประเด็นนี้​ โดยสามารถถามคำถามเหล่านี้เพื่อช่วยหาจุดตั้งต้นให้เราเองได้

  1. หากเราจะใส่สิ่งที่เราทำอยู่ หรือคิดว่าจะทำ เราจะไปอยู่ตรงช่องใด
  2. มี Barrier หรือ Strategy ใดบ้างที่สามารถนำไปต่อยอดในงานของคุณ ให้สร้างผลกระทบทางสังคมได้ดีขึ้นและทำอย่างไร?
  3. มีผู้เล่นกลุ่มไหนที่สามารถไปศึกษางานและถอดบทเรียนได้บ้าง
  4. มีผู้เล่นกลุ่มไหนที่เราสามารถไปเสริมงานส่วนอื่นของเขาให้แก้ไขปัญหาได้ดียิ่งขึ้นได้อีกบ้าง
  5. ผู้เล่นแต่ละกลุ่มที่ระบุลงไปในตารางเป็นผู้เล่นที่กำลังแก้ไขปัญหาในระดับไหน

ความสนุกของเครื่องมือนี้คือ แต่ละคนจะได้ Insight ต่างกันไปและสามารถนำไปใช้ต่อยอดงานของตนได้หมดตามมุมมอง เราสามารถอัปเดตข้อมูลของผู้เล่นได้เสมอ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่ต่อยอดให้งานได้ดียิ่งขึ้น


Problem Discovery ver. Equitable Education
กรอบการสร้างการเปลี่ยนแปลง