What & Why
เมื่อได้โจทย์ปัญหามาแล้วขั้นตอนต่อไปคือเริ่มคิดไอเดียเพื่อแก้ปัญหา โดยทั่วไปมักให้นวัตกรช่วยกันระดมไอเดีย (Idea Generation) ผ่านกระบวนการที่เน้นใช้ความคิดสร้างสรรค์ ขยายความเป็นไปได้ของไอเดียให้ได้มากที่สุด แต่จะได้เป็นเพียงไอเดียในกระดาษเท่านั้น ยังต้องนำไปทำกระบวนการทดสอบไอเดีย (Idea Validation) และปรับใหม่เพื่อทำให้ไอเดียใช้งานได้จริง ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่หากนำมาใส่ไว้ในโจทย์ก่อนนำไปเริ่มคิดไอเดียที่สำคัญนั้นคือ ข้อมูลเชิงลึกของปัญหา ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ไอเดียใช้งานได้จริง
ใน Finding Secret Ingredient นี้ นวัตกรจะได้ศึกษา ค้นคว้าหรือทบทวนข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึกของปัญหา จากนั้นวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบของวิธีแก้ปัญหา และพัฒนาเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ไอเดียใช้งานได้จริงซึ่งจะนำไปรวมเป็นโจทย์ก่อนคิดไอเดียแก้ปัญหาต่อไป
How
STEP 1 Problem Insight (ข้อมูลเชิงลึกของปัญหา)
ข้อมูลเชิงลึกของปัญหาคืออะไร? จากประสบการณ์การทํางานสนับสนุนนักสร้างการเปลี่ยนแปลงของ School of Changemakers พบว่าข้อมูลเชิงลึกของปัญหาที่จะเรียกว่าเป็น Insight ได้น้ันมีองค์ประกอบ 3 อย่าง ได้แก่
- เป็นช่องว่าง (Gap) หรือโอกาส (Opportunity) ในการแก้ไขปัญหา
- เป็นข้อมูล (Information) หรือความรู้ (Knowledge) ที่ทําให้ประหลาดใจ (Surprised) และเราไม่เคยรู้มาก่อน (Aha Moment)
- ทําให้เกิดความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ในความต้องการและความปรารถนาของมนุษย์ที่เป็นเหตุผลเบื้องหลังความคิดพฤติกรรมหรือการกระทําต่อเหตุการณ์นั้นๆ อย่างลึกซ้ึง ซึ่งทําให้เกิดมุมมองใหม่เก่ียวกับปัญหาหรือกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างไปจากเดิม
ดังน้ัน หากขาดองค์ประกอบใดไป เช่น ไม่ใช่ข้อมูลใหม่ที่ทําให้ประหลาดใจ ไม่ทําให้เข้าใจรูปแบบพฤติกรรมหรือเข้าใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ก็ยังไม่อาจเรียกว่าเป็น Insight ที่ดีได้ ซึ่งในขั้นตอนที่ 1 นี้จึงควรระบุข้อมูลที่เป็นช่องว่างหรือโอกาสในการแก้ปัญหา เช่น ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แก้ปัญหาได้ ข้อมูลที่หากไม่เข้าใจปัญหาหรืออยู่ในสถานการณ์จริงอาจจะไม่รู้ หรือข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วจากข้อมูลทั่วไป
STEP 2 Solution Components (องค์ประกอบของวิธีแก้ปัญหา)
จาก Worksheet 1: Finding Idea Starter เราได้คิดและเลือกวิธีการแก้ปัญหามาแล้วในข้อที่ 1.3 Solution ว่าจะเป็นรูปแบบใด ในขั้นตอนที่ 2 นี้จะมาลงรายละเอียดของวิธีการแก้ปัญหาที่ได้เลือกไว้ โดยหยิบข้อมูลเชิงลึกของปัญหาในข้อที่ 1 มาใส่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้วิธีการแก้ปัญหามีคุณภาพมากขึ้น ข้อมูลสำคัญที่ทำให้วิธีแก้ปัญหาของเราสามารถใช้งานได้จริงอ้างอิงจากข้อมูลเชิงลึกที่เรามี โดยมีหัวข้อให้พิจารณาดังนี้
- รูปแบบของวิธีแก้ปัญหาเป็นสินค้าหรือการบริการแบบใด เช่น คู่มือ การ์ดเกม กิจกรรม การอบรม
- องค์ประกอบหรือลักษณะของสินค้าหรือบริการที่ควรมี เช่น มีสีสันชวนเล่น พกพาได้ หรือกิจกรรมที่ไม่เพิ่มงาน
- ช่วงเวลาหรือระยะเวลาที่กลุ่มเป้าหมายจะใช้งาน เช่น ช่วงเวลา 4-6 โมงเย็น หรือระยะเวลา 3 เดือน
STEP 3 Secret Ingredient (เงื่อนไขที่ทำให้ไอเดียใช้งานได้จริง)
จากขั้นตอนที่ 1 และ 2 ให้สรุปเป็นเงื่อนไขสำคัญที่วิธีการแก้ปัญหานี้ต้องมี หากไม่มีจะไม่สามารถใช้งานได้จริง ผู้ใช้งานจะไม่เลือกใช้หรือไม่สะดวกใช้งาน หรือหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดขึ้นในระยะยาว ความเดือดร้อนของผู้ใช้งานจะยังอยู่เหมือนเดิม ไม่ได้รับการแก้ไขที่ตรงจุด
เครื่องมือ Finding Secret Ingredient เป็นเครื่องมือที่ 2 ใน Problem Discovery Toolkit ชุดเครื่องมือเพื่อการออกแบบนวัตกรรมฯ ด้วยข้อมูลเชิงลึก อยากคิดไอเดียสร้างนวัตกรรมสังคมให้ใช้ได้จริง ไปเครื่องมือต่อไปได้เลย!