ระบบการศึกษาให้ความสำคัญกับครูน้อยเกินไปหรือไม่

ภารกิจหลักของครูคือการสอน การถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แก่ผู้เรียนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ครูต้องใช้เวลาจำนวนหนึ่งเพื่อการจัดการเรียนการสอน แต่ในความจริง ครูมีภาระงานนอกห้องเรียนมากมายที่ต้องจัดการ ไม่ว่าจะเป็น งานเอกสาร การประเมินตามตัวชี้วัดที่มีถึง​ 2,000 ตัว (TDRI, 2023) การอบรม และการจัดงานในโรงเรียน คิดรวมกันแล้ว งานนอกห้องเรียนดึงเวลาครูไปถึง 42% จากเวลาทั้งหมด คิดจาก 84 วันจากวันเปิดเรียน 200 วัน (กสศ., 2014) แม้ข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูลเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว แต่สถานการณ์การใช้เวลาของครูไม่ได้ต่างจากเดิมมากนัก จึงเป็นเรื่องที่น่าตั้งคำถามเกี่ยวกับคุณภาพการสอนและคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กไทย

นอกจากครูกลุ่มนี้ ยังมีครูในโรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียนน้อยกว่า 120 คนต่อโรงเรียน) ที่อยู่พื้นที่ห่างไกลของชุมชน (ห่างจากโรงเรียนข้างเคียงไม่ต่ำกว่า 10 กิโลเมตร) ที่มีต้นทุนสูงแต่ไม่สามารถยุบและควบรวมได้เพื่อให้บริการด้านการศึกษานักเรียนกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง กว่าโรงเรียน 1,594 โรง (วสศ., 2019) และมีนักเรียนรวมกันราว 100,000 คน ซึ่งสัดส่วนครูต่อนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กเริ่มจาก 1 คนต่อนักเรียนทุดระดับชั้น ทั้งโรงเรียน 13-200 คน ถึงแม้จะมีความพยายามเกลี่ยครูจากโรงเรียนที่เกินมาโรงเรียนที่ขาดก็พบว่ายังขาดครูอีกประมาณ 22,000 คน (TDRI, 2023) ทำให้ครูในพื้นที่ห่างไกลต้องสอนนักเรียนทุกชั้น ทุกวิชา และทำหน้าที่อื่นๆ เพิ่มเติมจากงานที่กลุ่มข้างต้นทำ ได้แก่ การบริหารโรงเรียน การทำครัว การทำความสะอาด การซ่อมไฟ การซ่อมโต๊ะ การตรวจสอบดูแลความปลอดภัย ตลอดจนการดูแลโภชนาการของเด็ก จึงแทบไม่เหลือเวลาให้ครูสอนและพัฒนาการสอนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้

ประเด็นที่น่าสนใจในการพัฒนาระบบพัฒนาครู

แม้การใช้เวลาจะเป็นเพียงตัวอย่างเดียว แต่ก็ทำให้เห็นว่าระบบที่ครูอยู่ไม่ได้เอื้อให้ครูเต็มที่กับการสอน  และเนื่องด้วยระบบการศึกษาที่มีลักษณะการทำงานแบบมีลำดับชั้น (Hierachical) และเป็นวัฒนธรรมแห่งความกลัว (Fear based) ครูจึงไม่สามารถปฏิเสธงานที่สั่งลงมาจากผู้อำนวยการหน่วยการศึกษา เขตพื้นที่ กระทรวงศึกษาธิการ หรือรัฐส่วนกลางได้

หนำซ้ำครูยังเป็นฝ่ายเดียวที่ถูกประเมินผล โดยที่ครูไม่สามารถสะท้อนความคิดเห็น (Feedback) ไม่มีการประเมินระบบว่าได้สนับสนุนการสอนของครูได้ดีหรือไม่ และนอกเหนือจากโครงสร้างของระบบงานที่ไม่เอื้อให้ครูได้สอนแล้ว ครูยังต้องแบกรับหน้าที่และความคาดหวังจากผู้ปกครองและชุมชนในการดูแลแก้ไขปัญหาเชิงพฤติกรรม ปัญหาการเรียนรู้ ความสามารถด้านวิชาการของเด็กด้วย 

จึงไม่น่าแปลกใจหากครูจะเครียด ทุกข์ ไม่มีเวลาในการดูแลร่างกายจิตใจและครอบครัวของตนเอง โดยในระยะยาว หากครูไม่ได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม ระบบจะเสียครูดีๆ ไปจากระบบ หรือ อยู่ในระบบแบบ offline หมายถึง ครูอยู่ในห้องแต่เล่นโทรศัพท์หรือไม่ได้สนใจสอน ส่วนผู้ที่ต้องการและตั้งใจจะเป็นครูก็จะมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ  นักเรียนก็จะได้รับผลกระทบด้านโอกาสในการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ด้านการมีสมาธิ ด้านความสนใจต่อเนื้อหา ผลการเรียนรู้และการเติบโตทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ของเด็กก็ลดคุณภาพลงไปด้วย ไม่ว่าครูจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เพราะเมื่ออยู่ในพื้นที่แห่งความกลัว เด็กก็จะต้องใส่ใจกับความปลอดภัยของตัวเองก่อน เลยไม่สามารถเรียนรู้ และพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ยากยิ่งขึ้นไปอีก

Insight ตั้งต้นในการสร้างนวัตกรรมด้านการพัฒนาระบบพัฒนาครูเพื่อก้าวข้ามอุปสรรค (Barrier)

  1. ตั้งความคาดหวังที่เหมาะสมกับหน้าที่ของครู บุคคลากรในสถานศึกษา และผู้ปกครองในการดูแลเด็ก เพื่อลดงานนอกห้องเรียนที่ครู
  2. สร้างเครือข่ายและคอมมูนิตี้ครูเพื่อดูแล แลกเปลี่ยนเครื่องมือและข้อมูลที่ช่วยการทำงานของครูให้ดีและง่ายขึ้น
  3. ครูมีตัวช่วย (Hack) ในการทำความรู้จักและเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะการเรียนรู้ของนักเรียนของตน
  4. เสริมพลังครูให้มีอำนาจ (Empower) ในระบบมากขึ้น เช่น จัดขอบข่ายภาระงานครูให้ใช้เวลาไปกับการเตรียมและสอนเป็นหลัก ให้ครูประเมินผู้อำนวยการโรงเรียนและระบบการทำงาน
  5. ปรับ mindset ผู้ให้บริการด้านการศึกษาให้ใช้ความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ในการบริการจัดการระบบการศึกษา ลด hierachy เปลี่ยนจากการใช้อำนาจ (Power over) เป็นการแบ่งอำนาจ (Power sharing)
  6. ทบทวนเป้าหมายของหน่วยการศึกษา และกำหนดผลลัพธ์จากการศึกษา-การเรียนรู้ใหม่ให้ตอบโจทย์ความหลากหลายของผู้เรียนและบริบทชุมชนเป็นหัวใจ
  7. ถอดบทเรียนการศึกษาที่ดูแลเด็กที่มีความหลากหลายออกมาเป็นองค์ความรู้  และเชื่อมโยงเรื่องราวเชิงบุคคล ให้เกิดความสนใจและการตั้งคำถามเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ
  8. นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ให้ตอบเงื่อนไขชีวิตของผู้เรียนเพื่อช่วยลดภาระครู​และกันเด็กออกจากระบบ

อ้างอิง

  1. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) – TEP เปิด “3 ปัญหาเก่า” “2 ความท้าทายใหม่” การศึกษาไทย ชวนภาคการเมืองล้อมวงคุยนโยบายแก้ไขสร้างคนไทยให้ทันโลก (2 ธันวาคม 2561)  ที่มา https://tdri.or.th/2018/12/tep-3-ปัญหาเก่า-2-บทความท
  2. สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) – โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลของชุมชน โจทย์ใหญ่ที่ท้าทายการศึกษาไทย (18 ธันวาคม 2563) ที่มา https://research.eef.or.th/โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่